วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทสัมภาษณ์ สถาปนิกลาดกระบัง


ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์พี่เจี้ยบ(คุณณัฐพงศ์ พวงเพชร) ซึ่งจากการสัมภาษณ์คราวนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงสิ่งที่จะได้เจอต่างๆ เมื่ออกไปทำงาน และทราบถึงมุมมองที่พี่เจี๊ยบมีต่อสังคม และสถาปนิกในปัจจุบัน จากคำถามที่ข้าพเจ้าเตรียมไป ในวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ตอนประมาณ 5 โมงครึ่งการสัมภาษณ์ก็ได้เริ่มต้นขึ้น


Q: เหตุผลที่พี่เลือกเรียนวิชานี้คืออะไรครับ
A: เพราะพี่มีความชอบทางด้านงานศิลป์ และวิชาสถาปัตยกรรมคือแขนงวิชา ที่รวบรวมทั้งศาสตร์ด้านศิลป์ และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน


Q: ส่วนร่วมที่มีให้กับคณะหลังจากจบการศึกษาล่ะครับ
A: ส่วนใหญ่ก็คงเป็นงานเลี้ยงสังค์สรรค์แหล่ะครับ (หัวเราะ)


Q: ความรู้สึกที่ได้รับระหว่างการศึกษาที่ลาดกระบังครับ
A: พี่รู้สึกว่าที่ลาดกระบังเราได้รับพื้นฐานในด้านต่างๆที่ดีมากๆครับ แต่ก็ยังมีส่วนที่อ่อนอยู่ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเรื่องของการออกแบบครับ


Q: หลังจากที่จบการศึกษาแล้วมาทำงานแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ
A: เหนื่อยครับมีลูกอย่าให้ได้มาเรียนเลย (หัวเราะ) ก็ทำงานไม่ค่อยเป็นเวลานะมันแบบต้องคิดเรื่องแบบอยู่ตลอดเวลา และงานสถาปัตยกรรมก็เป็นเรื่องของศิลป์ด้วยบางทีต้องอาศัยอารมณ์ในการที่จะสร้างสรรค์มันขึ้นมา


Q: พอมาทำงานแล้วคิดว่าสิ่งที่ขาดไปตอนเรียนคืออะไรครับ
A: งานด้าน concept ที่ลาดกระบังอ่อนมาก โดยพี่สังเกตได้จากเด็กที่มาฝึกงานที่บริษัทครับ ซึ่งต่างจากที่อื่นๆ


Q: มีความคิดเห็นอย่างไรต่อระบบการศึกษาในปัจจุบันบ้างครับ
A: ก็โอเคนะ เพราะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับเรามาก และเด็กในปัจจุบันก็มีทักษะทางด้านนี้มากขึ้น แต่มันก็กลับกลายเป็นผลร้าย เพราะบางคนใช้คอมพิวเตอร์ในการคิดแบบทำให้ได้งานที่ขาดความน่าสนใจ เพราะจริงๆแล้วเราควรใช้คอมพิวเตอร์ให้มาตอบสนองต่อการออกแบบไม่ใช่ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ


Q: แล้วสำหรับระบบการศึกษาในอดีตเป็นอย่างไรบ้างครับ
A: พวกพี่อ่อนด้านคอมพิวเตอร์มาก แต่อย่างพี่ยังถือว่าโชคดี เพราะที่เรียนอาจารย์ยอมให้ทำงานคอมพิวเตอร์บ้าง พอมาทำงานจริงเลยได้ใช้ แต่จากความคิดเห็นส่วนตัวนะพี่ว่าเด็กปัจจุบันขี้เกียจกว่าเด็กสมัยก่อน


Q: อุปสรรคที่มักเจอบ่อยๆ เวลาทำงานครับ
A: เรื่องของการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเราทำงานกับคนหลากหลาย และต่างคนก็ต่างมี ego ของตัวเองทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าทำได้เวลาในการทำงานจะลดน้อยลง ซึ่งเป็นประโยชน์มาก


Q: แล้วมีวิธีแก้ปัญหาอย่าไรครับ
A: อาจจะต้องใจเย็นๆ และพยายามสื่อสารกันให้รู้เรื่อง ว่าเวลาไหนทำอะไร เพราะเรื่องของเวลาสำคัญมาก และต้องลด ego ลงเนื่องจากคนที่มีวุฒิภาวะต่างกัน การสื่อสารก็แตกต่างกัน


Q: สิ่งสำคัญในตอนทำงานคืออะไรครับ
A: เรื่องของเวลาน่ะ เป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะไม่ว่าเราจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับเอกชน หรือราชการ เวลาก็มีความสำคัญ เพราะเวลามันหมายถึงเงินที่จะเกิดขึ้น


Q: ตอนทำงานมีรู้สึกเหนื่อย หรือท้อบ้างรึเปล่าครับ
A: ก็มีบ้างนะ ในอารมณ์ที่คิดแบบไม่ออก มันเหนื่อยเพราะโดนเวลาบีบ


Q: คิดว่าจะอยู่ในสายอาชีพนี้ไปอีกนานแค่ไหนครับ
A: คงหนีไปไหนไม่ได้อีกแล้ว (หัวเราะ) เพราะความรู้มันอยู่กับตัว แต่ก็มีความคิดที่ไปรับงานอิสระบ้าง เพราะวิชาชีพนี้สอนให้ในเรื่องของความรับผิดชอบ และความคิดสร้างสรรค์


Q: ถามถึงประวัติการทำงานหน่อยครับ
A: ก็ตั้งแต่ตอนจบก็มาอยู่ที่จันทิมาพรเลย แบบว่าอาจารย์ไก่แนะนำมา(หัวเราะ) อยู่มา 7 ปีแล้ว ตอนนี้ทำงานอยู่ในตำแหน่งของ senior architecture


Q: ผลงานที่พึงพอใจมีชิ้นไหนบ้างครับ
A: โรงงาน MATCO, ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, ศูนย์ยางรถยนต์ บริษัท C-trac


Q: ความคิดเห็นต่อค่าครองชีพของวิชาชีพสถาปนิก
A: ถือว่าไทยให้เครดิตกับ สถาปนิกน้อยมาก เพราะคนไทยไม่เข้าใจว่าสถาปนิกเป็นอย่างไร ทำแค่กระดาษแผ่นเดียวถึงมีราคาแพง เพราะไม่ใช่แต่เรื่องของการออกแบบ เรายังต้องประสานงานกับสายอาชีพต่างๆ ซึ่งยากจะคุยให้เข้าใจ


Q: มีแบบอย่าง หรือผู้ที่เคารพในสายอาชีพนี้ไหมครับ
A: ก็คงเป็น boss (พี่ตั้ม คุณชินวร )แหล่ะครับ เพราะชอบไอเดียในการออกแบบ และวิธีการทำงานครับ พี่ตั้มเป็นแบบอย่างที่ดีครับ ในเรื่องของการทำงานที่ดีได้ในเวลาที่น้อย และพี่ตั้มยังมีความสามารถในการเจรจางานกับลูกค้าสูงมากด้วยครับ


Q: ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาปนิกภายในประเทศครับ
A: มันมีเรื่องของเส้นสาย, สีของสถาบัน, ใต้โต๊ะ, กฎหมาย มาเป็นสิ่งปิดกั้น จนไม่สามารถทำให้สถาปนิกไทยก้าวไปข้างหน้าได้ ตัวอย่างก็กรณีของงานประกวดแบบรัฐสภา


Q: ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาปนิกในต่างประเทศครับ
A: ตัวสถาปนิกเค้ามีอิสระ ทางความคิด ที่ไม่ถูกบังคับจากเส้นสาย, สีของสถาบัน, ใต้โต๊ะ, กฎหมาย จนไม่สามารถทำให้สถาปนิกไทย เพราะจริงแล้วสถาปนิกไทยเก่งมาก


Q: แล้วถ้างั้นสถาปนิกไทยจะสู้สถาปนิกต่างชาติได้ไหมครับ
A: ได้สิ ยกตัวอย่างจากพวกออกแบบผลิตภัณฑ์ไง จะเห็นได้ชัดมากว่าการออกแบบเราสู้ต่างชาติได้ แต่เรากลับถูกบีบด้วยสังคมของคนไทย


Q: พี่เจี๊ยบคิดว่ามีทักษะใดที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพนี้ครับ
A: การเข้าใจในกระบวนการการออกแบบ ที่สามารถรวมเอาศาสตร์ และศิลป์มาใช้จนเกิดความสวยงาม และได้รับการยอมรับ


Q: พี่มีหลักการในการทำงานอย่างไรครับ
A: หลักการก็คือทำอย่างไรก็ได้ให้ส่งได้ทัน การจัดการในเรื่องของเวลา เพราะมันส่งผลถึงความเชื่อถือที่ลูกค้าจะมีให้เรา


Q: สุดท้ายนี้ช่วยฝากข้อเสนอแนะถึงรุ่นน้องที่กำลังจะจบไปหน่อยครับ
A: ต้องทำใจนะว่าการทำงาน กับการเรียนมันไม่เหมือนกัน เราอาจจะต้องเจออะไรที่แตกต่างออกไป เพราะขณะทำงานมันเหมือนกับการเอาทุกสิ่งทุกอย่างมาใช้พร้อมๆกัน การทำงานต้องมีการปูพื้นฐานใหม่ จนเด็กจบใหม่บางคนไม่เข้าใจ และงานจริงกับงานตอนเรียนมันก็ต่างกันมาก เพราะตอนเรียนเราจะได้ทำแต่โปรเจ็คใหญ่ หรือโปรเจ็คที่เราสนใจ แต่พอมาทำงานจริงเราอาจจะได้ทำแค่บ้านหลังเล็กๆเท่านั้นก็เป็นได้

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

NeO Classic

สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่(Neoclassic)
สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่(Neoclassic) เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเคลื่อนไหวของการเกิดศิลปะแบบคลาสสิกใหม่ เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่18 ถึงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งเกิดขึ้นจากการต่อต้านทุกระบบที่เป็นการแบ่งชนชั้นในฝรั่งเศส ซึ่งสมัยนั้นนิยมศิลปะแบบร็อกโคโค และแบบบาร็อก ซึ่งมีลักษณะฟุ้งเฟ้อและมากมายด้วยลายละเอียดจนเกินไป ประกอบกับในขณะนั้นนักโบราณคดีได้ขุดค้นเมืองกรีกโบราณ เมืองปอมเปอี ได้พบศิลปะวัตถุล้ำค่า ในตอนต้นของยุคนี้จึงมีแนวคิดนำรูปแบบศิลปะโบราณกลับมาใช้ใหม่ ลักษณะงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้จึงมีแนวคิดและการสร้างงานลอกเลียนแบบงานโบราณ ศิลปินยุคนี้จะกลับไปซาบซึ้งกับงานสมัยโรมัน และโดยเฉพาะศิลปะในรูปแบบอุดมคติของของกรีก รวมถึงได้รับอิทธิพลของหลักการและเหตุผลของยุคเรเนสซองช่วงศตวรรษที่ 16 ก่อนช่วงงานแบบบาร็อก
สถาปนิกในยุคคลาสสิกใหม่ ได้รับอิทธิพลจากงานภาพเขียนและโปรเจคของ Étienne-Louis Boullée และ Claude Nicolas Ledoux. ซึ่งงานสถาปัตยกรรมของ Boullee และลูกศิษย์จะแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันกับความความนิรันด์ของจักรวาล ส่วนงานของ Ledoux อาคารต้องสื่อสารการใช้งานของมันให้ผู้ที่เห็นได้รับรู้โดยทันที งานสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่มีความรุ่งเรืองมากในฝรั่งเศส เช่น ประตูชัยที่กรุงปารีส


เปรียบเทียบตัวอย่างงานในยุคคลาสสิกใหม่กับงานเก่าที่เป็นอิทธิพลทางความคิด


ประตูชัยฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Arc de triomphe de l'Étoile)(ค.ศ.1806) เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส อยู่ทางทิศตะวันตกของชองป์-เซลิเซ่ส์ แบบของประตูชัยนั้น ฌอง ชาลแกร็งเป็นผู้ออกแบบ ในรูปแบบศิลปะคลาสสิคใหม่ ที่ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ช่างแกะสลักที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในรูปแกะสลักของประตูชัยฝรั่งเศสด้วย






ประตูชัยไตตัส ( Arch of Titus ) ตั้งอยู่ใน Via Sacre เมืองทางตอนตะวันออกเฉียงใต้จากโรม ถูกสร้างขึ้นในปี 41ของจักรวรรดิโรมมัน เป็นงานสถาปัตยกรรมรูปแบบโรมัน




หลังจากกระแสความนิยมของงานสถาปัตยกรรมแบบโมเดรินเริ่มสงบนิ่ง (ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึง คริสต์ศตวรรษที่ 1980 ) สถาปัตยกรรมรูปแบบคลาสสิกใหม่ก็กลับมาเฟื้องฟูอีกครั้ง ในอเมริกา เริ่มมีแบบแผนและตำราเกิดขื้น
ส่วนงานสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกในไทยนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรปเนื่องจากการเสด็จประภาสยุโรปของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในช่วงนี้มีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมหลายแห่งที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมของยุโรปมา งานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะแบบนีโอคลาสสิก เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม สถานีรถไฟหัวลำโพง ตึกแถวย่านท่าช้าง

1.พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระที่นั่งอนันต์ นั้นงดงามด้วยศิลปะแบบอิตาเลียนเรเนอซองส์ ผสมกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิค โดยรูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เป็นแบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งโรม และโบสถ์เซนต์ปอล กรุงลอนดอน ช่วงบนของอาคารซึ่งเป็นรูปโดมซึ่งทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆ อยู่รายรอบอีก 6 โดม ตัวอาคารสร้างจากหินอ่อนสีขาวริ้วลายสีน้ำตาลแก่แกมหม่น สั่งเข้ามาจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี อีกทั้งภายในยังงดงามไปด้วยภาพเขียนแบบเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) บนเพดานโดม โดยฝีมือของจิตรกรชาวอิตาเลียน คือนายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์กาลิเลโอ กินี โดยรูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่แสดงถึงเหตุการณ์เด่นๆ ในแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6

2.สถานีรถไฟกรุงเทพ(สถานีรถไฟหัวลำโพง

สถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง)เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบสถานีรถไฟในทวีปยุโรป ตามอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ลักษณะอาคารใช้หลังคาเป็นโครงเหล็กรูปโค้งเกือบครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ห้องโถงใหญ่ทั้งหมด บริเวณส่วนกลางเป็นโค้งมุงด้วยวัสดุใสเพื่อให้เกิดแสงสว่างทั่วทั้งห้อง เน้นทางเข้าด้วยโถงยาวเท่าความกว้างของโครง หลังคาห้องโถงนี้ทำเป็นหลังคาแบน มีลูกกรงคอนกรีตโดยรอบ รองรับด้วยเสา 2 ต้นคู่ ตลอดระยะมีการประดับตกแต่งหัวเสาด้วยบัวหัวเสาแบบไอโอนิค ตามแบบคลาสสิค ตั้งอยู่เป็นระยะๆไป และมีห้องลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมอยู่ปลายสุดของโค้ง เพื่อหยุดความกว้างของโค้งอาคาร
3.ตึกแถวย่านท่าช้าง
ตึกแถวย่านท่าช้าง ที่เป็นอาคารพาณิชย์เก่าแก่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ด้านหน้าอาคารชั้นบนทำเป็นระเบียง 3 ระเบียง ระเบียงกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ผนังอาคารเซาะร่องเป็นแนว ชั้นล่างแต่งด้วยเสาดอริกและเสาแบบโครินเธียนในชั้นสอง ปัจจุบัน ธนาคารนครหลวงก็ได้เช่าอาคารแห่งนี้เปิดเป็นที่ทำการ
นอกจากนั้นตึกแถวในสมัยรัชกาลที่ 5 ในกรุงเทพฯนั้นก็ยังมีอยู่เช่น ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์และย่านหลังกระทรวง ตึกแถวถนนตะนาว ช่วงก่อนถึงวัดบวรนิเวศฯ ก็คาดว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยเช่นกัน

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันสุดท้าย

วันที่ 12 กรกฎาคม 2552 (วันสุดท้ายของการเดินทาง)
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

เช้าวันสุดท้ายนี้เราเดินทางออกจากที่พักมายังวัดแห่งแรกนี้ เป็นวัดที่มีคนเยอะที่สุดในบรรดาวัดทั้งหมดที่ได้ไปมาในทริปนี้ วัดแห่งนี้มีทางเข้าถึง 4 ทาง โดยมีเจดีย์เป็นส่วนกลาง ด้านหน้าเป็นวิหารหลัก ส่วนทิศทั้ง 3 ที่เหลือนั้นมีพระพุทธรูป 3 องค์ ประจำอยู่คือ พระศรีศาสดา พระพุทธชินสีห์ และพระองค์ดำ เพื่อที่ไม่ว่าจะเข้ามาทางไหนก็สามารถสักการะได้ โดยมีระเบียงคดเชื่อมต่อกัน ทำให้คนเดินได้อย่างสะดวก วัดแห่งนี้กลายเป็นวัดที่เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว ทำให้มีร้านขายของที่ระลึกมากมาย โดยถัดจากวัดนี้ไปนั้นคือวัดนางพญา
วัดราชบูรณะ


วัดนี้อยู่ต่อมาจากวัดวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่ดูมีความโบราณเก่าแก่กว่ามาก วัดแห่งนี้เต็มไปด้วยเรื่องของความเชื่อสังเกตได้จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การถวามพวงมาลัย และการลอดใต้ท้องเรือ หรือจะเป็นฆ้องขนาดใหญ่ที่รูปแล้วเกิดเสียง ต้นโพธิ์ที่ต้องลอดถึง 9 ครั้ง สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความเชื่อต่างๆ หลังจากที่ได้ชมวัดนี้เสร็จ จึงได้แยกย้ายกันไปทานข้าว เนื่องจากอากาศที่ร้อนมากจนแทบจะละลาย ข้าพเจ้ากับเพื่อนๆจึงหนีไปตากแอร์อยู่ที่ห้างใกล้ๆละแวกนั้น ก่อนจะกลับมารวมตัวกันเดินทางกลับกรุงเทพ และสิ้นสุดทริปในครั้งนี้

สรุป
การเดินทางครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้เปิดหูเปิดตา เห็นความสำคัญของธรรมชาติและความเป็นไทย ที่ข้าพเจ้าและนักออกแบบรุ่นใหม่ได้ลืม หรือมองข้ามไป ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากกับข้าพเจ้า ซึ่งเป็นคนไทย หากเราเคารพธรรมชาติแล้ว อยู่อย่างพอเพียง สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นจากการคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ จะกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน เราอยู่ใต้กฎของธรรมชาติ และ เราอยู่บนผืนแผ่นดินที่มีวัฒนธรรมความเป็นมาที่ยาวนาน ดังนั้นเหตุใดเราจึงมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของเทคโนโลยี ถูกต้องหรือที่ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนี้?...

วันที่ 8

วันที่ 11 กรกฎาคม 2552
วัดพระศรีมหาธาตุเชลียง

เช้านี้ข้าพเจ้าออกแต่เช้าเนื่องจากมีภารกิจต้องกลับมาถ่ายรูปยังวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง เพราะเมื่อวานมาเย็นเกินไป วัดแห่งนี้ที่ต้องกลับมาอีกทีเพราะมีสิ่งที่ไม่สามารถหาดูที่ได้อีก นั่นคือ พระพุทธรูปปรางค์ลีลาที่ อ.จิ๋วยกย่องให้เป็นพระพุทธรูปปรางค์ลีลา ที่มีความงดงามมากที่สุด หลังจากที่ได้ไปดูจึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดจึงพลาดไม่ได้ ความงามของเส้นโค้งที่อ่อนช้อยราวกับจะมีชีวิตขึ้นมา ที่วัดแห่งนี้ข้าพเจ้าได้ลองเดินรอบระเบียงคด จึงได้เข้าใจว่าเหตุใดจึงมีถึง 3 ชั้นเพื่อใช้ในการเดิน 3 รอบแล้วแต่ละรอบที่เดินครบก็จะวนเข้าไปวงในเรื่อย ทำให้เมื่อเดินครบทุกรอบ จะเข้ามาอยู่ที่ชั้นในสุดพอดี ทางเดินแคบๆนี้ทำให้ไม่มีการเดินแซงกัน คนเดินจึงเดินกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งเหล่านี้สถาปนิกต้องเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมของผู้เข้ามาใช้ให้เป็นไปตามที่ตนคิด หลังจากเดินเก็บภาพเสร็จก็ออกเดินทางด้วยรถไปยังที่หมายต่อไป ซึ่งอากาศวันนี้เริ่มร้อนอีกแล้ว
วัดกุฎีลาย

วัดนี้หากมองเผินๆคงไม่ต่างจากวัดทั่วไป แต่วัดนี้ อ.จิ๋วได้ชักชวนให้ดู การาวางอิฐแบบคอเบล โครงสร้างนี้คนโบราณสามารถคิดได้จากการรู้จักสังเกตคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด แต่เนื่องจากมดเยอะมากทำให้มีบางส่วนไม่เดินเข้ามาถ่ายรูปใกล้ๆข้าพเจ้าคิดว่าความรู้สึกแบบนี้ เป็นความที่ทำให้เราอาจพลาดที่ได้ความรู้บางสิ่งไปก็ได้
เขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

คล้ายกับศรีสัชนาลัยคือเป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบเช่นกันมีวัดต่างๆมากมายแต่สุโขทัยมีความยิ่งใหญ่กว่าศรีสัชนาลัยมาก ทุกคนเดินถ่ายรูปกันอย่าไม่ย่อท้อแม้ว่าอากาศจะร้อนขนาดไหนหลายคนผิวคล้ำขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เป็นอุปสรรค์กับการถ่ายรูปเลย วัดแห่งนี้มีเจดีย์วางกันอยู่หนาแน่น ที่ว่างต่างๆจึงเป็นไปอย่างกระชั้นชิด หลังจากนั้นจึงเดินต่อไปยังวัดอื่นๆ อีกวัด สองวัด ก่อนจะไปยังศูนย์บริการนำเที่ยวของอุทยาน

ศูนย์แห่งนี้ออกแบโดยใช้รูปแบบอาคาร และช่องเปิด รวมไปถึงราวกันตกตามแบบสุโขทัย เมื่อมาถึงก็นั่งพักกันที่ศาลาด้านหน้า อ.จิ๋วก็ได้เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของการออกแบบศูนย์แห่งนี้ หลังจากนั่นก็พากันไปฟังบรรยายเกี่ยวกับการวางผัง และความเป็นมาของสุโขทัย แล้วจึงแยกย้ายกันถ่ายรูป แต่ข้าพเจ้าได้กลับมาถามผู้บรรยาย จึงทำให้ทราบว่าสถาปัตยกรรมที่ล้านนานั้น มีของสุโขทัยเป็นต้นแบบ เมื่อถ่ายรูปเสร็จแล้วจึงกลับไปเดินดูโบราณสถานต่อ ตอนนี้ทุกคนเริ่มแสดงอาการเหนื่อยล้าออกมาบ้างแล้ว
วัดศรีสวาย


วันนี้มีความแปลกคือมีพระปรางค์ 3 อันวางติดกันเป็นหลัก แต่เป็นวัดที่มีลายสมบูรณ์มาก มีทั้งลายที่เกิดจากปูนปั้น และการบากลายของขอม ที่ประดับอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว แสดงให้เห็นว่างานสถาปัตยกรรมเองก็สามรถผสมผสานกันได้แม้ว่าจะคนละเชื่อชาติก็ตาม หลังจากที่เดินถ่ายรูปมาทั้งทุกคนเริ่มออกอาการเหนื่อยหน่ายและอ่อนล้า จึงมีกลุ่มที่เริ่มหาวิธีผ่อนคลาย ด้วยการกระโดดถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนานพอให้ช่วยผ่อนคลายไปได้อีกแบบ
วัดศรีชุม
วัดแห่งนี้นับว่าแปลกพิสดารมากเพราะ การสร้างกำแพงหนาขึ้นมาล้อมรอบพระพุทธรูปที่องค์ใหญ่กว่าวิหารเสียอีก จากสิ่งนี้ทำให้คนสันนิฐานกันไปต่างๆนาๆว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างของวัดแห่งนี้คือต้นมะม่วงขนาดใหญ่มหึมาอายุกว่า 600 ปี ที่อยู่คู่กับวัดแห่งนี้มาอย่างเนิ่นนาน จากตรงนี้ข้าพเจ้าคิดว่า สถาปัตยกรรมนั้นยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งเสื่อมสภาพลง แต่ธรรมชาตินั้นยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งเจริญงอกงาม สองสิ่งที่ต่างกันนี้ได้มาอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว น่าอิจฉาคนโบราณที่สามารถคิดสถาปัตยกรรมแบบนี้ได้ หลังจากเดินดูกันจนทั่วก็ได้ถ่ายรูปหมู่กันที่วัดศรีชุมแห่งนี้ ก่อนจะกลับที่พัก ด้วยความเหนื่อยอีกวัน

วันที่ 7

วันที่ 10 กรกฎาคม 2552 (วันแรกที่จังหวัดสุโขทัย)
สนามบินสุโขทัย

เช้านี้มาถึงยังสนามบินสุโขทัย สนามบินแห่งสร้างโดยอ้างอิงรูปแบบอาคารในแบบสุโขทัย ซึ่งจะแตกต่างกับแบบล้านนาที่ได้ดูตั้งแต่วันแรก มรการลดหลั่นชั้นหลังคาเหมือนกัน แต่องค์ประกอบประกอบบางอย่างหายไป เช่น แผงคอสอง และม้าต่างไหม(กลายเป็นขื่อ คาน และจันทันแทน) ที่สนามบินแห่งนี้เป็นสนามบินที่ไว้รองรับแขกพิเศษ เครื่องบินจะบินลงมาจอดที่ run way แล้วจากนั้นจะมีรถ วิ่งพาผู้โดยสารไปขึ้นเครื่อง เหตุนี้ทำให้สนามบินหลังนี้ จึงมีแต่เครื่องบินส่วนตัว หรือเครื่องบินที่ไม่ใช้ขนาดใหญ่มาใช้บริการ แม้ว่า run way จะมีความยาวพอสำหรับการ landing ของเครื่องบินขนาดใหญ่แล้วก็ตาม ทางพี่ปูผู้พาชมรู้ความต้องการของพวกเราเป็นอย่างดี จึงได้พอชมยังส่วนต่างๆพร้อมกับบรรยาย ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดของโครงการที่วางอาคารหันหน้าเข้า run way แล้วมีสระน้ำด้านหน้า ที่เปรียบเสมือนการเดินทางด้วยทางน้ำของคนสมัยก่อน ศาลาพักก่อนขึ้นเครื่อง ที่มีน้ำลอดใต้เปรียบเสมือนศาลาริมน้ำของบ้านภาคกลาง เรื่องของ runway หอบังคับการบิน หรือแปลงเพาะชำดอกกล้วยไม้ ที่ใช้ในการหมุนเวียนการตกแต่งโครงการ ก่อนจะนั่งรถไปถึงส่วนต้อนรับหลักที่ใช่ชื่อว่า SUKHOTHAI HERITAGE RESORT หรือclub houseของโครงการ ที่คลับแห่งนี้ประกอบไปด้วย ห้องอาหารที่พัก สระไว้น้ำ ห้องจัดเลี้ยง 3 ห้อง และส่วนนันทนาการ ที่คลับแห่งนี้ก็อ้าอิงรูปแบบอาคารของสุโขทัยเช่นกัน มีคลอง และกำแพงด้านหน้าขนาดใหญ่เปรียบกับกำแพงเมือง มีการวางอาคารให้โอบล้อมสระ ส่วนกลางทำให้แต่ละองค์ประกอบมองเห็นซึ่งกันและกัน แม้ว่าจะเลียนแบบวัสดุและรูปร่างของอาคารโบราณ แต่ก็มีการใช้วัสดุสมัยใหม่เช่น กระจก หรือกรอบหน้าต่างอลูมิเนียมทั้งนี้เพื่อตอบสนองกับ งานระบบปรับอากาศ เมื่อเดิมชมรอบๆ แล้วพบว่าเป็นอาคารโบราณที่ดูมีความทันสมัย แม้ว้ารูปทรงและที่ว่างจะเป็นของเดิมก็ตาม สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้ออกแบบ มีความตั้งใจที่จะนำเสนอความเป็นสถาปัตยกรรมไทย หลังจากนั้นพี่ปูที่นำทัวร์ จึงพาไปทานอาหารที่ลานอาหารริมน้ำ ที่ลานแห่งนี้นั้นลมเย็นสบายมากเพราะมีลมที่พัด ไอเย็นๆ ของน้ำผ่านสุมทุมพุ่มพฤกษ์ เนื่องจาลานแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบ และแทรกตัวอยู่ในต้นไม้ใหญ่ได้ลงตัว หากถามถึงข้อเสีย คงเป็นอาหารที่ช้าล่ะมั้ง หลังจากกินอิ่ม พี่ปูก็พาไปยังดูสถานที่สุดท้ายคือ หุ่นจำลองนครวัดจำลอง ก่อนจะล่ำลากันเพื่อไปยังที่ต่อไป
ศูนย์อนุรักษ์เตาสังคโลก

อากาศช่วงบ่ายที่สุโขทัยนี้ร้อนระอุมาก ที่ศูนย์อนุรักษ์เตาแห่งนี้ ถูกออกแบบโดยภูมิสถาปนิก โดยอาคารเป็นแบบสุโขทัย เป็นการออกแบบโดยการวางอาคารไว้บนเตาสังคโลกที่อยู่ใต้ดินเพื่อขุดเอาดินออกเหลือไว้เพียงเตาที่มีขนาดใหญ่ ไม่ให้โดยฝน โดนแดด และที่ทำให้ต้องใช้โครงสร้างที่มีช่วงเสากว้างเนื่องจากหลุมเตาสังคโลกมีขนาดใหญ่ เพื่อให้คลุมได้ทั้งหมด ที่ด้านหลังของศูนย์อนุรักษ์ มีบ้านไม้โบราณอยู่อีกหนึ่งหลัง หลังนี้เริ่มแตกต่างจากทางภาคเหนือด้วยส่วนต่างที่วางไม่เหมือนกันแต่อาจคล้ายกัน ทำให้เห็นว่าเมื่อต่างถิ่นไป รูปแบบต่างๆก็มีการเปลี่ยนแปลง ข้าพเจ้าเห็นพี่ๆปริญญาโทรทำการวัดส่วนต่างของบ้านอย่างละเอียด พร้อมทั้งยังสัมภาษณ์คุณตาที่อาศัยอยู่ ข้าพเจ้าคิดว่าข้อมูลที่พี่ๆเค้าทำนี้คงจะมีประโยชน์ในการออกแบบเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้สิ่งที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน
วัดเจดีย์เก้ายอด


โบราณสถานแห่งนี้เป็นของศรีสัชนาลัยแต่ตั้งอยู่ด้านนอกของเมือง ถูกก่อสร้างด้วยศิลาแลง เสาแต่ละต้นนั้นไม้ใช่เสาที่เป็นเนื้อเดียวกันทั้งต้น แต่เป็นศิลาแลงที่มีขนาดเท่าๆ มาวางต่อๆกันขึ้นไปสิ่งเหล่านี้ถูกทำด้วยความตั้งใจของช่าง พวกเราเดินถ่ายรูปกันเก็บไว้เพื่อเก็บเป็นข้อมูลไปดูว่าช่างโบราณเค้าคิดอะไรเค้าต้องการจะสอนอะไรกับเรา ซากเหล่านี้คงใหญ่โตมโหฬารมากในอดีต แต่กาลเวลาก็ทำให้ทุกอย่างเป็นเพียงแค่สิ่งหลงเหลือ ต่อจากวัดนี้ไปเราจะใช้การเดินทางด้วยเท้า เพราะตอนนี้เราอยู่ในเขตอนุรักษ์ศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นมรดกของโลกเรียบร้อยแล้ว
เขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย


การเดินทางด้วยเท้านี้ทำให้เราได้รับรู้ถึงสิ่งต่างๆได้มากกว่าการนั่งรถเพราะช้ากว่าเลยทำให้เราเห็นอะไรๆที่มากขึ้น เมืองศรีสัชนาลัยนี้ ก่อนจะเข้าเมืองต้องข้ามคูน้ำ และผ่านประตู กำแพงขนาดใหญ่ นี่คือการต้องความปลอดภัยของคนสมัยก่อน สมัยที่ยังมีการทำสงครามสู้รบกันอยู่ความปลอดภัยจากข้าศึกจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในสมัยปัจจุบันความต้องการเหล่านี้กลับหายไปเปลี่ยนเป็นความต้องการในด้านของธุรกิจแทน ซึ้งข้าพเจ้าคิดว่ามันมีส่วนทำให้สังคมของเราเปลี่ยนไปเช่นกันไม่ใช่แต่กับสถาปัตยกรรม วัดที่ได้เข้ามาศึกษาในวันนี้มีมากมายหลายวัดแต่ละวัดล้วนแต่มีเรื่องของความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น คนสมัยโบราณนั้นใช้อิฐ ศิลาแลงในการก่อสร้างวัด หรือวิหารเนื่องจากให้ความสำคัญมากกว่าจึงใช้วัสดุที่แข็งแรงกว่า ต่างกับพระราชวังที่เป็นที่พักของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ไม้ก่อสร้าง ทำให้ปัจจุบันจึงหลงเหลือไว้เพียงฐานพระราชวังที่ถูกก่อด้วยอิฐเท่านั้น หลังจากเดินดูจนครบแล้ว จึงขึ้นรถต่อไปยังสถานที่สุดท้ายของวันนี้ คือวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง แต่เนื่องจากแดดของวันนี้เริ่มหมดแล้ว จึงได้ตกลงกันว่าพรุ่งนี้จะกลับมาที่นี่อีกครั้งในตอนเช้าตี 5

วันที่ 6

วันที่ 9 กรกฎาคม 2552
กลุ่มบ้านอนุรักษ์ล้านนา

ที่แรกของวันนี้นั้นเป็นกลุ่มบ้านอนุรักษ์ซึ่งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่นี่มีบ้านโบราณอยู่มากมาย โดยเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา หรือภาคเหนือผสมอยู่ เช่น บ้านไทลื้อ เรือนกาแล เป็นต้น แต่สิ่งที่น่าสนใจของสถานที่แห่งนี้คือ บ้านแต่ละหลังเดิมทีไม่ได้ตั้งอยู่ที่บริเวณนี้ แต่ถูกถอด แล้วนำมาประกอบใหม่ทั้งหลัง และสวนใหญ่ก็มีคนอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งจากตรงนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นวิถีชีวิต ได้เห็นการใช้งานต่างๆเมื่อมีคนอยู่ หลังจากเดินดู และถ่ายรูป บ้านเรือน ภาคเหนือแบบต่างๆ เสร็จแล้วจึงมุ่งหน้าไปที่ต่อไป
ณ หมู่บ้านไทยพื้นถิ่นที่ไม่อาจระบุทางไปได้

หลงไปพักใหญ่กว่าจะมาถึงที่หมู่บ้านนี้ หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่อยู่กันแบบพึ่งพาตนเอง สร้างกันเองซ่อมกันเอง ทำให้ไม่แปลกใจที่จะได้เห็นแผ่นไม้ที่เหมือนจะเคยใช้เป็นอย่างอื่นมาก่อน มาใช้เป็นฝาบ้านที่ผุพังไป ชาวบ้านเหล่านี้เป็นบุคคลที่น่านับถือ พวกเค้าไม่เคยลืมตนเอง ยังคงอยู่แบบพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งพาระบบอุตสาหกรรม ใช้เพียงวัตถุดิบที่มีที่หาได้ในท้องถิ่น รั้วบ้านที่ ถูกทำจากไม้ หรือไม้ไผ่ก็มีพืชผักสวนครัวเกาะเลื้อยไปทั่ว ทั้งให้ความสวยงาม และยังใช้ประโยชน์ได้ เป็นรั้วที่มีประโยชน์มากกว่ารั้วที่เป็นเพียงคอนกรีตเพียงอย่างเดียวซ้ำยังใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากกว่าอีกด้วย จากสิ่งเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าประทับใจจึงเดินถ่ายรูปตาม อ.จิ๋ว จนเพลินลืมเวลา ความงามของระนาบฝาบ้านต่างๆที่วางเรียงรายกันไปโดยไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ แต่มันก็เกิดความงามในตัวของมันเองได้ ที่ว่างในบ้านบางหลังนั้นน่าสนใจมาก เพราะเป็นที่ว่างที่คนที่ไม่เคยเข้าไปสัมผัส เข้าใจได้ยากเพราะมันเป็นที่ว่างที่เกิดจากความต้องการในการใช้สอย หลังจากถ่ายรูปที่หมู่บ้านนี้เสร็จข้าพเจ้าและหมู่คณะก็มุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดสุโขทัย

วันที 5

วันที่ 8 กรกฎาคม 2552 (วันแรกที่เชียงใหม่)
วัดพันเตา

เช้านี้ข้าพเจ้าและหมู่คณะ เดินทางเข้ามายังตัวเมืองเชียงใหม่ ที่วัดพันเตา วัดแห่งนี้เดิมทีไม่ได้ตั้งใจจะสร้างให้เป็นวัด สังเกตได้จากพระวิหารหอคำหลวง ที่ไม่ได้มีผังอาคารเป็นรูปไข่ แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าธรรมดา แต่องค์ประกอบอื่นๆทุกอย่างยังคงเป็นแบบล้านนา เป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง ที่ดูมีความขลัง และวิจิตรงดงาม ที่ด้านข้างหอคำนั้นมีไม้ไผ่ที่ถูกทำขึ้นเพื่อเป็นที่เสียบธงเหลืองซึ่งแสดงให้เห็นถึงประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น หลังจากฟังบรรยายจากอาจารย์จิ๋วเสร็จอาจารย์สุพัฒน์ (อ.เจง) ก็พาเดินไปยังที่ต่อไป
โรงแรม ยู เชียงใหม่

ที่หน้าโรงแรมแห่งนี้นั้น อ.เจง ได้บรรยายถึงความเป็นมาว่าแต่ก่อนที่ตรงนี้เป็นบ้านโบราณก่อนจะถูกปรับปรุงให้กลายเป็นโรงแรม เหตุที่อาจารย์จิ๋วให้มาดูโรงแรมแห่งนี้ เพราะโรงแรมแห่งนี้รู้จักการนำ ที่ว่าง ที่ดีมาปรับปรุงให้เข้ากับอาคารเดิม ระนาบคอนกรีตสีขาวเรียบๆช่วยเน้นทางเข้าให้ชัดเจน และหนักแน่น ระแนงแนวทแยง และกันสาดที่อยู่บริเวณโถงต้อนรับนั้นดูแล้วรู้สึกถึงความเป็นไทยที่ลงตัว แต่น่าเสียดายที่ไม่สามารถเข้าไปชมยังด้านในได้เพราะมีแขกพักอยู่ เพื่อไม่เป็นการรบกวนทางโรงแรม และนักท่องเที่ยว จึงถ่ายรูปและเยี่ยมชมแต่เพียงด้านหน้าเท่านั้น
วัดทุ่งอ้อ
วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่อยู่ในหมู่บ้าน ที่เหลือเพียงวิหาร กับเจดีย์เท่านั้นที่ยังเป็นของเก่าอยู่ วิหารแห่งนี้มีการหลอกสัดส่วนด้วย element ต่างๆที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เนื่องจากวัดที่มีขนาดเล็ก ที่แตกต่างกับวัดอื่นๆอย่างชัดเจนเห็นจะเป็นทางขึ้นวิหารด้านหน้าที่ทั้งหนา และใหญ่ แต่ลายม้วนที่มีลายเรียบง่าย และบันไดที่สามารถลงจากบริเวณกึ่งกลางบันไดได้ วัดแห่งนี้ไม่มีระเบียงคด หลังจากถ่ายรูปตัววิหารเสร็จ ก็พอกันเดินไปยังด้วนหลังเห็นต้นไม้สูงใหญ่ ที่มาช่วยส่งเสริมให้วิหารดูเด่นมากขึ้น
วัดต้นแกว๋น

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่ประกอบไปด้วยลานทรายที่เริ่มมีหญ้าเข้ามาปะปน วิหาร มณฑป และระเบียงคดที่เชื่อมต่อจากมณฑป เลื้อยมาล้อมรอบวิหาร วัดแห่งนี้มีขนาดเล็กระทัดรัด ทางเดินก่อนเข้าไปยังเขตวิหาร มีต้นปาล์มสูงโปร่งที่ให้ความรู้สึกที่โปร่งโล่ง เมื่อเข้าไปถึงจะพบมณฑปอยู่ด้านซ้าย มณฑปแห่งนี้คล้ายกับของที่วัดปงสนุก หากแต่เป็นสีไม้ไม่มีสีสันเหมือนวัดปงสนุก วิหารของวัดนี้บันไดมีพญานาค ส่วนด้วนในนั้นมีการใช้ที่ว่างคล้ายกับของที่วัดพระธาตุลำปางหลวง แต่แตกต่างกันตรงที่วัดแห่งนี้มีขนาดเล็กกว่า และมีการก่ออิฐทึบปิดวิหารโดยรอบ ภายในของวิหารแห่งนี้นั้นเป็นรูปไข่ และมีการหลอกในเรื่องของทั้งมุมมอง และสัดส่วนของอาคารอย่างแยบยลอีกด้วย ในด้านของมุมมองนั้น หลอกด้วยการเปลี่ยนปริมาตรของที่ว่างภายในช่วยให้องค์พระนั้นดูลึกกว่าที่เป็นอยู่จริง แต่เมื่อมองออกมาจากตำแหน่งขององค์พระแล้วก็จะไม่พบความผิดปกติ ส่วนในด้านของสัดส่วนนั้น ด้านหน้าของวิหาร ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง และเหงานั้นถูกออกแบบในสัดส่วนที่ใหญ่กว่าปกติทั้งนี้ เพราะวัดมีขนาดเล็ก การบิดเบือนสัดส่วนเพื่อให้วัดมีขนาดใหญ่จึงเป็นเรื่องสำคัญ ลวดลายที่มีเฉพาะส่วนเท่านั้น สิ่งนี้ช่วยในการผลักระยะของวิหารให้ดูลึกยาว เมื่อมองจากรั้ววัดเข้าไป
โรงแรมราชมังคลา

โรงแรมแห่งนี้ลักษณะเด่นในการเล่นเกี่ยวที่ว่างที่เชื่อมต่อกัน โรงแรมแห่งนี้มีแนวความคิดในการออกแบบ คือความกลมกลืนกันของหลากหลายศิลปวัฒนธรรม โดยใช้สถาปัตยกรรมไทยเป็นหลัก เริ่มจากส่วนกลาง ที่บริเวณห้องเครื่องดื่มมีลักษณะเป็นแบบจีน มีลานตรงกลางช่วยเชื่อมกับ ห้องอาหารที่มีลักษณะเป็นไทย ที่ชั้นบนของหลังนี้มีพิพิธภัณฑ์ ดาบโบราณ เครื่องกระเบื้อง และส่วนขายของที่ระลึก ถัดมาเป็นส่วนที่พัก ห้องพักที่นี้ถูกจัดมาอย่างเรียบง่านแต่ดูหรูหรา ห้องนอนแต่ละห้องนั้นจัดเรียงอยู่ล้อมรอบลานโล่งตรงกลาง และถูกเชื่อมกับสวนถัดไปด้วยอาคารที่มีลักษณะเป็นวิหารแบบล้านนาขนาดย่อม ก่อนจะเข้าสู่สวนสุดท้าย คือสวนสนับโครงการ เช่น สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ลานนั่งเล่น เป็นต้น ที่โรงแรมแห่งนี้ สัดสวนความเป็นไทย ต่างๆถูกนำมาใช้อย่างผ่านการกลั่นกรองซึ่งรวมไปถึงรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละส่วนอีกด้วย