วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันที่ 8

วันที่ 11 กรกฎาคม 2552
วัดพระศรีมหาธาตุเชลียง

เช้านี้ข้าพเจ้าออกแต่เช้าเนื่องจากมีภารกิจต้องกลับมาถ่ายรูปยังวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง เพราะเมื่อวานมาเย็นเกินไป วัดแห่งนี้ที่ต้องกลับมาอีกทีเพราะมีสิ่งที่ไม่สามารถหาดูที่ได้อีก นั่นคือ พระพุทธรูปปรางค์ลีลาที่ อ.จิ๋วยกย่องให้เป็นพระพุทธรูปปรางค์ลีลา ที่มีความงดงามมากที่สุด หลังจากที่ได้ไปดูจึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดจึงพลาดไม่ได้ ความงามของเส้นโค้งที่อ่อนช้อยราวกับจะมีชีวิตขึ้นมา ที่วัดแห่งนี้ข้าพเจ้าได้ลองเดินรอบระเบียงคด จึงได้เข้าใจว่าเหตุใดจึงมีถึง 3 ชั้นเพื่อใช้ในการเดิน 3 รอบแล้วแต่ละรอบที่เดินครบก็จะวนเข้าไปวงในเรื่อย ทำให้เมื่อเดินครบทุกรอบ จะเข้ามาอยู่ที่ชั้นในสุดพอดี ทางเดินแคบๆนี้ทำให้ไม่มีการเดินแซงกัน คนเดินจึงเดินกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งเหล่านี้สถาปนิกต้องเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมของผู้เข้ามาใช้ให้เป็นไปตามที่ตนคิด หลังจากเดินเก็บภาพเสร็จก็ออกเดินทางด้วยรถไปยังที่หมายต่อไป ซึ่งอากาศวันนี้เริ่มร้อนอีกแล้ว
วัดกุฎีลาย

วัดนี้หากมองเผินๆคงไม่ต่างจากวัดทั่วไป แต่วัดนี้ อ.จิ๋วได้ชักชวนให้ดู การาวางอิฐแบบคอเบล โครงสร้างนี้คนโบราณสามารถคิดได้จากการรู้จักสังเกตคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด แต่เนื่องจากมดเยอะมากทำให้มีบางส่วนไม่เดินเข้ามาถ่ายรูปใกล้ๆข้าพเจ้าคิดว่าความรู้สึกแบบนี้ เป็นความที่ทำให้เราอาจพลาดที่ได้ความรู้บางสิ่งไปก็ได้
เขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

คล้ายกับศรีสัชนาลัยคือเป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบเช่นกันมีวัดต่างๆมากมายแต่สุโขทัยมีความยิ่งใหญ่กว่าศรีสัชนาลัยมาก ทุกคนเดินถ่ายรูปกันอย่าไม่ย่อท้อแม้ว่าอากาศจะร้อนขนาดไหนหลายคนผิวคล้ำขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เป็นอุปสรรค์กับการถ่ายรูปเลย วัดแห่งนี้มีเจดีย์วางกันอยู่หนาแน่น ที่ว่างต่างๆจึงเป็นไปอย่างกระชั้นชิด หลังจากนั้นจึงเดินต่อไปยังวัดอื่นๆ อีกวัด สองวัด ก่อนจะไปยังศูนย์บริการนำเที่ยวของอุทยาน

ศูนย์แห่งนี้ออกแบโดยใช้รูปแบบอาคาร และช่องเปิด รวมไปถึงราวกันตกตามแบบสุโขทัย เมื่อมาถึงก็นั่งพักกันที่ศาลาด้านหน้า อ.จิ๋วก็ได้เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของการออกแบบศูนย์แห่งนี้ หลังจากนั่นก็พากันไปฟังบรรยายเกี่ยวกับการวางผัง และความเป็นมาของสุโขทัย แล้วจึงแยกย้ายกันถ่ายรูป แต่ข้าพเจ้าได้กลับมาถามผู้บรรยาย จึงทำให้ทราบว่าสถาปัตยกรรมที่ล้านนานั้น มีของสุโขทัยเป็นต้นแบบ เมื่อถ่ายรูปเสร็จแล้วจึงกลับไปเดินดูโบราณสถานต่อ ตอนนี้ทุกคนเริ่มแสดงอาการเหนื่อยล้าออกมาบ้างแล้ว
วัดศรีสวาย


วันนี้มีความแปลกคือมีพระปรางค์ 3 อันวางติดกันเป็นหลัก แต่เป็นวัดที่มีลายสมบูรณ์มาก มีทั้งลายที่เกิดจากปูนปั้น และการบากลายของขอม ที่ประดับอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว แสดงให้เห็นว่างานสถาปัตยกรรมเองก็สามรถผสมผสานกันได้แม้ว่าจะคนละเชื่อชาติก็ตาม หลังจากที่เดินถ่ายรูปมาทั้งทุกคนเริ่มออกอาการเหนื่อยหน่ายและอ่อนล้า จึงมีกลุ่มที่เริ่มหาวิธีผ่อนคลาย ด้วยการกระโดดถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนานพอให้ช่วยผ่อนคลายไปได้อีกแบบ
วัดศรีชุม
วัดแห่งนี้นับว่าแปลกพิสดารมากเพราะ การสร้างกำแพงหนาขึ้นมาล้อมรอบพระพุทธรูปที่องค์ใหญ่กว่าวิหารเสียอีก จากสิ่งนี้ทำให้คนสันนิฐานกันไปต่างๆนาๆว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างของวัดแห่งนี้คือต้นมะม่วงขนาดใหญ่มหึมาอายุกว่า 600 ปี ที่อยู่คู่กับวัดแห่งนี้มาอย่างเนิ่นนาน จากตรงนี้ข้าพเจ้าคิดว่า สถาปัตยกรรมนั้นยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งเสื่อมสภาพลง แต่ธรรมชาตินั้นยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งเจริญงอกงาม สองสิ่งที่ต่างกันนี้ได้มาอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว น่าอิจฉาคนโบราณที่สามารถคิดสถาปัตยกรรมแบบนี้ได้ หลังจากเดินดูกันจนทั่วก็ได้ถ่ายรูปหมู่กันที่วัดศรีชุมแห่งนี้ ก่อนจะกลับที่พัก ด้วยความเหนื่อยอีกวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น