วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันที่ 7

วันที่ 10 กรกฎาคม 2552 (วันแรกที่จังหวัดสุโขทัย)
สนามบินสุโขทัย

เช้านี้มาถึงยังสนามบินสุโขทัย สนามบินแห่งสร้างโดยอ้างอิงรูปแบบอาคารในแบบสุโขทัย ซึ่งจะแตกต่างกับแบบล้านนาที่ได้ดูตั้งแต่วันแรก มรการลดหลั่นชั้นหลังคาเหมือนกัน แต่องค์ประกอบประกอบบางอย่างหายไป เช่น แผงคอสอง และม้าต่างไหม(กลายเป็นขื่อ คาน และจันทันแทน) ที่สนามบินแห่งนี้เป็นสนามบินที่ไว้รองรับแขกพิเศษ เครื่องบินจะบินลงมาจอดที่ run way แล้วจากนั้นจะมีรถ วิ่งพาผู้โดยสารไปขึ้นเครื่อง เหตุนี้ทำให้สนามบินหลังนี้ จึงมีแต่เครื่องบินส่วนตัว หรือเครื่องบินที่ไม่ใช้ขนาดใหญ่มาใช้บริการ แม้ว่า run way จะมีความยาวพอสำหรับการ landing ของเครื่องบินขนาดใหญ่แล้วก็ตาม ทางพี่ปูผู้พาชมรู้ความต้องการของพวกเราเป็นอย่างดี จึงได้พอชมยังส่วนต่างๆพร้อมกับบรรยาย ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดของโครงการที่วางอาคารหันหน้าเข้า run way แล้วมีสระน้ำด้านหน้า ที่เปรียบเสมือนการเดินทางด้วยทางน้ำของคนสมัยก่อน ศาลาพักก่อนขึ้นเครื่อง ที่มีน้ำลอดใต้เปรียบเสมือนศาลาริมน้ำของบ้านภาคกลาง เรื่องของ runway หอบังคับการบิน หรือแปลงเพาะชำดอกกล้วยไม้ ที่ใช้ในการหมุนเวียนการตกแต่งโครงการ ก่อนจะนั่งรถไปถึงส่วนต้อนรับหลักที่ใช่ชื่อว่า SUKHOTHAI HERITAGE RESORT หรือclub houseของโครงการ ที่คลับแห่งนี้ประกอบไปด้วย ห้องอาหารที่พัก สระไว้น้ำ ห้องจัดเลี้ยง 3 ห้อง และส่วนนันทนาการ ที่คลับแห่งนี้ก็อ้าอิงรูปแบบอาคารของสุโขทัยเช่นกัน มีคลอง และกำแพงด้านหน้าขนาดใหญ่เปรียบกับกำแพงเมือง มีการวางอาคารให้โอบล้อมสระ ส่วนกลางทำให้แต่ละองค์ประกอบมองเห็นซึ่งกันและกัน แม้ว่าจะเลียนแบบวัสดุและรูปร่างของอาคารโบราณ แต่ก็มีการใช้วัสดุสมัยใหม่เช่น กระจก หรือกรอบหน้าต่างอลูมิเนียมทั้งนี้เพื่อตอบสนองกับ งานระบบปรับอากาศ เมื่อเดิมชมรอบๆ แล้วพบว่าเป็นอาคารโบราณที่ดูมีความทันสมัย แม้ว้ารูปทรงและที่ว่างจะเป็นของเดิมก็ตาม สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้ออกแบบ มีความตั้งใจที่จะนำเสนอความเป็นสถาปัตยกรรมไทย หลังจากนั้นพี่ปูที่นำทัวร์ จึงพาไปทานอาหารที่ลานอาหารริมน้ำ ที่ลานแห่งนี้นั้นลมเย็นสบายมากเพราะมีลมที่พัด ไอเย็นๆ ของน้ำผ่านสุมทุมพุ่มพฤกษ์ เนื่องจาลานแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบ และแทรกตัวอยู่ในต้นไม้ใหญ่ได้ลงตัว หากถามถึงข้อเสีย คงเป็นอาหารที่ช้าล่ะมั้ง หลังจากกินอิ่ม พี่ปูก็พาไปยังดูสถานที่สุดท้ายคือ หุ่นจำลองนครวัดจำลอง ก่อนจะล่ำลากันเพื่อไปยังที่ต่อไป
ศูนย์อนุรักษ์เตาสังคโลก

อากาศช่วงบ่ายที่สุโขทัยนี้ร้อนระอุมาก ที่ศูนย์อนุรักษ์เตาแห่งนี้ ถูกออกแบบโดยภูมิสถาปนิก โดยอาคารเป็นแบบสุโขทัย เป็นการออกแบบโดยการวางอาคารไว้บนเตาสังคโลกที่อยู่ใต้ดินเพื่อขุดเอาดินออกเหลือไว้เพียงเตาที่มีขนาดใหญ่ ไม่ให้โดยฝน โดนแดด และที่ทำให้ต้องใช้โครงสร้างที่มีช่วงเสากว้างเนื่องจากหลุมเตาสังคโลกมีขนาดใหญ่ เพื่อให้คลุมได้ทั้งหมด ที่ด้านหลังของศูนย์อนุรักษ์ มีบ้านไม้โบราณอยู่อีกหนึ่งหลัง หลังนี้เริ่มแตกต่างจากทางภาคเหนือด้วยส่วนต่างที่วางไม่เหมือนกันแต่อาจคล้ายกัน ทำให้เห็นว่าเมื่อต่างถิ่นไป รูปแบบต่างๆก็มีการเปลี่ยนแปลง ข้าพเจ้าเห็นพี่ๆปริญญาโทรทำการวัดส่วนต่างของบ้านอย่างละเอียด พร้อมทั้งยังสัมภาษณ์คุณตาที่อาศัยอยู่ ข้าพเจ้าคิดว่าข้อมูลที่พี่ๆเค้าทำนี้คงจะมีประโยชน์ในการออกแบบเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้สิ่งที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน
วัดเจดีย์เก้ายอด


โบราณสถานแห่งนี้เป็นของศรีสัชนาลัยแต่ตั้งอยู่ด้านนอกของเมือง ถูกก่อสร้างด้วยศิลาแลง เสาแต่ละต้นนั้นไม้ใช่เสาที่เป็นเนื้อเดียวกันทั้งต้น แต่เป็นศิลาแลงที่มีขนาดเท่าๆ มาวางต่อๆกันขึ้นไปสิ่งเหล่านี้ถูกทำด้วยความตั้งใจของช่าง พวกเราเดินถ่ายรูปกันเก็บไว้เพื่อเก็บเป็นข้อมูลไปดูว่าช่างโบราณเค้าคิดอะไรเค้าต้องการจะสอนอะไรกับเรา ซากเหล่านี้คงใหญ่โตมโหฬารมากในอดีต แต่กาลเวลาก็ทำให้ทุกอย่างเป็นเพียงแค่สิ่งหลงเหลือ ต่อจากวัดนี้ไปเราจะใช้การเดินทางด้วยเท้า เพราะตอนนี้เราอยู่ในเขตอนุรักษ์ศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นมรดกของโลกเรียบร้อยแล้ว
เขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย


การเดินทางด้วยเท้านี้ทำให้เราได้รับรู้ถึงสิ่งต่างๆได้มากกว่าการนั่งรถเพราะช้ากว่าเลยทำให้เราเห็นอะไรๆที่มากขึ้น เมืองศรีสัชนาลัยนี้ ก่อนจะเข้าเมืองต้องข้ามคูน้ำ และผ่านประตู กำแพงขนาดใหญ่ นี่คือการต้องความปลอดภัยของคนสมัยก่อน สมัยที่ยังมีการทำสงครามสู้รบกันอยู่ความปลอดภัยจากข้าศึกจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในสมัยปัจจุบันความต้องการเหล่านี้กลับหายไปเปลี่ยนเป็นความต้องการในด้านของธุรกิจแทน ซึ้งข้าพเจ้าคิดว่ามันมีส่วนทำให้สังคมของเราเปลี่ยนไปเช่นกันไม่ใช่แต่กับสถาปัตยกรรม วัดที่ได้เข้ามาศึกษาในวันนี้มีมากมายหลายวัดแต่ละวัดล้วนแต่มีเรื่องของความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น คนสมัยโบราณนั้นใช้อิฐ ศิลาแลงในการก่อสร้างวัด หรือวิหารเนื่องจากให้ความสำคัญมากกว่าจึงใช้วัสดุที่แข็งแรงกว่า ต่างกับพระราชวังที่เป็นที่พักของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ไม้ก่อสร้าง ทำให้ปัจจุบันจึงหลงเหลือไว้เพียงฐานพระราชวังที่ถูกก่อด้วยอิฐเท่านั้น หลังจากเดินดูจนครบแล้ว จึงขึ้นรถต่อไปยังสถานที่สุดท้ายของวันนี้ คือวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง แต่เนื่องจากแดดของวันนี้เริ่มหมดแล้ว จึงได้ตกลงกันว่าพรุ่งนี้จะกลับมาที่นี่อีกครั้งในตอนเช้าตี 5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น