วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันที 5

วันที่ 8 กรกฎาคม 2552 (วันแรกที่เชียงใหม่)
วัดพันเตา

เช้านี้ข้าพเจ้าและหมู่คณะ เดินทางเข้ามายังตัวเมืองเชียงใหม่ ที่วัดพันเตา วัดแห่งนี้เดิมทีไม่ได้ตั้งใจจะสร้างให้เป็นวัด สังเกตได้จากพระวิหารหอคำหลวง ที่ไม่ได้มีผังอาคารเป็นรูปไข่ แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าธรรมดา แต่องค์ประกอบอื่นๆทุกอย่างยังคงเป็นแบบล้านนา เป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง ที่ดูมีความขลัง และวิจิตรงดงาม ที่ด้านข้างหอคำนั้นมีไม้ไผ่ที่ถูกทำขึ้นเพื่อเป็นที่เสียบธงเหลืองซึ่งแสดงให้เห็นถึงประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น หลังจากฟังบรรยายจากอาจารย์จิ๋วเสร็จอาจารย์สุพัฒน์ (อ.เจง) ก็พาเดินไปยังที่ต่อไป
โรงแรม ยู เชียงใหม่

ที่หน้าโรงแรมแห่งนี้นั้น อ.เจง ได้บรรยายถึงความเป็นมาว่าแต่ก่อนที่ตรงนี้เป็นบ้านโบราณก่อนจะถูกปรับปรุงให้กลายเป็นโรงแรม เหตุที่อาจารย์จิ๋วให้มาดูโรงแรมแห่งนี้ เพราะโรงแรมแห่งนี้รู้จักการนำ ที่ว่าง ที่ดีมาปรับปรุงให้เข้ากับอาคารเดิม ระนาบคอนกรีตสีขาวเรียบๆช่วยเน้นทางเข้าให้ชัดเจน และหนักแน่น ระแนงแนวทแยง และกันสาดที่อยู่บริเวณโถงต้อนรับนั้นดูแล้วรู้สึกถึงความเป็นไทยที่ลงตัว แต่น่าเสียดายที่ไม่สามารถเข้าไปชมยังด้านในได้เพราะมีแขกพักอยู่ เพื่อไม่เป็นการรบกวนทางโรงแรม และนักท่องเที่ยว จึงถ่ายรูปและเยี่ยมชมแต่เพียงด้านหน้าเท่านั้น
วัดทุ่งอ้อ
วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่อยู่ในหมู่บ้าน ที่เหลือเพียงวิหาร กับเจดีย์เท่านั้นที่ยังเป็นของเก่าอยู่ วิหารแห่งนี้มีการหลอกสัดส่วนด้วย element ต่างๆที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เนื่องจากวัดที่มีขนาดเล็ก ที่แตกต่างกับวัดอื่นๆอย่างชัดเจนเห็นจะเป็นทางขึ้นวิหารด้านหน้าที่ทั้งหนา และใหญ่ แต่ลายม้วนที่มีลายเรียบง่าย และบันไดที่สามารถลงจากบริเวณกึ่งกลางบันไดได้ วัดแห่งนี้ไม่มีระเบียงคด หลังจากถ่ายรูปตัววิหารเสร็จ ก็พอกันเดินไปยังด้วนหลังเห็นต้นไม้สูงใหญ่ ที่มาช่วยส่งเสริมให้วิหารดูเด่นมากขึ้น
วัดต้นแกว๋น

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่ประกอบไปด้วยลานทรายที่เริ่มมีหญ้าเข้ามาปะปน วิหาร มณฑป และระเบียงคดที่เชื่อมต่อจากมณฑป เลื้อยมาล้อมรอบวิหาร วัดแห่งนี้มีขนาดเล็กระทัดรัด ทางเดินก่อนเข้าไปยังเขตวิหาร มีต้นปาล์มสูงโปร่งที่ให้ความรู้สึกที่โปร่งโล่ง เมื่อเข้าไปถึงจะพบมณฑปอยู่ด้านซ้าย มณฑปแห่งนี้คล้ายกับของที่วัดปงสนุก หากแต่เป็นสีไม้ไม่มีสีสันเหมือนวัดปงสนุก วิหารของวัดนี้บันไดมีพญานาค ส่วนด้วนในนั้นมีการใช้ที่ว่างคล้ายกับของที่วัดพระธาตุลำปางหลวง แต่แตกต่างกันตรงที่วัดแห่งนี้มีขนาดเล็กกว่า และมีการก่ออิฐทึบปิดวิหารโดยรอบ ภายในของวิหารแห่งนี้นั้นเป็นรูปไข่ และมีการหลอกในเรื่องของทั้งมุมมอง และสัดส่วนของอาคารอย่างแยบยลอีกด้วย ในด้านของมุมมองนั้น หลอกด้วยการเปลี่ยนปริมาตรของที่ว่างภายในช่วยให้องค์พระนั้นดูลึกกว่าที่เป็นอยู่จริง แต่เมื่อมองออกมาจากตำแหน่งขององค์พระแล้วก็จะไม่พบความผิดปกติ ส่วนในด้านของสัดส่วนนั้น ด้านหน้าของวิหาร ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง และเหงานั้นถูกออกแบบในสัดส่วนที่ใหญ่กว่าปกติทั้งนี้ เพราะวัดมีขนาดเล็ก การบิดเบือนสัดส่วนเพื่อให้วัดมีขนาดใหญ่จึงเป็นเรื่องสำคัญ ลวดลายที่มีเฉพาะส่วนเท่านั้น สิ่งนี้ช่วยในการผลักระยะของวิหารให้ดูลึกยาว เมื่อมองจากรั้ววัดเข้าไป
โรงแรมราชมังคลา

โรงแรมแห่งนี้ลักษณะเด่นในการเล่นเกี่ยวที่ว่างที่เชื่อมต่อกัน โรงแรมแห่งนี้มีแนวความคิดในการออกแบบ คือความกลมกลืนกันของหลากหลายศิลปวัฒนธรรม โดยใช้สถาปัตยกรรมไทยเป็นหลัก เริ่มจากส่วนกลาง ที่บริเวณห้องเครื่องดื่มมีลักษณะเป็นแบบจีน มีลานตรงกลางช่วยเชื่อมกับ ห้องอาหารที่มีลักษณะเป็นไทย ที่ชั้นบนของหลังนี้มีพิพิธภัณฑ์ ดาบโบราณ เครื่องกระเบื้อง และส่วนขายของที่ระลึก ถัดมาเป็นส่วนที่พัก ห้องพักที่นี้ถูกจัดมาอย่างเรียบง่านแต่ดูหรูหรา ห้องนอนแต่ละห้องนั้นจัดเรียงอยู่ล้อมรอบลานโล่งตรงกลาง และถูกเชื่อมกับสวนถัดไปด้วยอาคารที่มีลักษณะเป็นวิหารแบบล้านนาขนาดย่อม ก่อนจะเข้าสู่สวนสุดท้าย คือสวนสนับโครงการ เช่น สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ลานนั่งเล่น เป็นต้น ที่โรงแรมแห่งนี้ สัดสวนความเป็นไทย ต่างๆถูกนำมาใช้อย่างผ่านการกลั่นกรองซึ่งรวมไปถึงรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละส่วนอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น