Trip ความรู้ กับอาจารย์จิ๋ว
วันที่ 4 กรกฎาคม 2552 (วันแรกที่ออกเดินทางสู่จังหวัดลำพูน)
ชนชาวเหนือ ณ บ้านสวนแก้ว จังหวัดสระบุรี
บ้านสวนแก้วที่ได้ไปดูนั้น เป็นบ้านไทยพื้นถิ่นที่มีอาคารเป็นไม้ แต่หลังคาเป็นสังกะสี อันเนื่องมาจากกระเบื้องดินเผาที่เคยผลิตนั้นหายไปจากเดิมเป็นจำนวนมาก ทำให้หาซื้อมาใช้ได้ยากจึงประยุกต์วัสดุให้กลายมาเป็นสังกะสีที่สามารถหาซื้อได้ง่ายกว่าในท้องถิ่น ซึ่งแม้วัสดุจะถูกเปลี่ยนแปลงไปแต่ความเป็นพื้นถิ่นนั้นยังคงมีอยู่
บ้านสวนแก้วหลังนี้ มีการสร้าง “ที่ว่าง” ได้อย่างน่าสนใจมากแม้วัสดุมุงหลังคาได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม เพราะวัสดุเดิมหาได้ยากการนำวัสดุที่หาได้ง่ายกว่าในท้องที่นั้นๆก็เป็นอีกหนึ่งความสามารถของคนไทย บ้านหลังนี้เมื่อเดินผ่านรั้วบ้านที่มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปลกคลุมได้อย่างกลมกลืนเข้าไปแล้วนั้น ก็จะพบกับศาลาไม้ ที่ถูกตั้งอยู่ให้ค่อมกับธารน้ำที่ไหลผ่านอยู่ด้านล่าง โดยพื้นของศาลานั้นเป็นแผ่นไม้ที่ถูกวางให้มีระยะห่างเพื่อที่จะเดินผ่านไปพร้อมกับเห็นสายน้ำที่ไหลอยู่ด้านล่าง พอผ่านศาลามาแล้วนั้นจะพบกับลานดินโล่ง ที่ถูกล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ และอาคารไม้ ที่ลานนี้ประกอบไปด้วย ที่นั่งไม้ เกวียนไม้ และสิ่งของต่างๆที่ช่วยทำให้ลานดินนี้ ดูเย็นสบายและน่านั่งเล่น เมื่อมองผ่านลานดินนี้ไปในระดับสายตาก็จะเห็นใต้ถุนบ้านที่ถูกยกขึ้น ใต้ถุนนี้ถูกใช้เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น หมา นก ไก่ และยังถูกใช้เป็นพื้นที่เก็บข้าวของต่างๆนาๆ ไม่ว่าจะเป็น เกวียน สามล้อถีบ ชะลอม ตะกล้า ฯลฯ เมื่อเดินผ่านเข้าไปภายในบริเวณบ้านก็จะเห็นโรงสีข้าวเล็กๆ อยู่ด้านข้าง แต่จากสภาพปัจจุบันคงไม่มีการใช้สอยพื้นที่นี้แล้ว ซึ่งทางเดินที่จะเข้าไปยังส่วนด้านหลังของบ้านนี้ ก็จะเห็นใต้ถุนที่มีนกนาๆชนิดที่ถูกเลี้ยงไว้ตลอดทาง จนกระทั้งผ่านซุ้มประตูไม้ที่มีต้นไม้ประดับอยู่เข้าไป ก็จะพบกับส่วนด้านหลังบ้านที่มีความสงบ มีการใช้ที่ว่างได้อย่างนาสนใจ ไม่ว่าจะเป็นสะพานที่ข้ามผ่านคูน้ำกลางบ้านแล้วสามารถผ่านขึ้นไปบนบ้านได้ หรือจะใช้เดินต่อไปยังบึงด้านหลังบ้านที่ถูกล้อมรอบไปด้วยอาคารริมน้ำช่างร่มเย็นและน่าพักผ่อนที่สุดได้ อาคารริมน้ำต่างๆที่ถูกวางเรียงไล่ระดับได้อย่างมีจังหวะ อันทำให้ระนาบต่างๆ ถูกไล่ไปตามสายตาอย่างราบลื่น ชานระเบียงที่ยื่นลอยเข้าไปในบึงหลังบ้าน สิ่งเหล่านี้ในปัจจุบันก็ยังคงมีการใช้ที่ว่างในลักษณะนี้อยู่ เพียงแต่วัสดุที่ใช้ถูกเปลี่ยนกลายเป็นคอนกรีต เหล็ก ไม่ใช่วัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่น หากแต่เป็นวัสดุที่มาจากการผลิตในระบบโรงงาน
หลังจากถ่ายรูปจนครบถ้วนก็ได้เดินข้ามต่อมายังฝั่งตรงข้ามที่เป็นพิพิธภัณฑ์เรือของแม่น้ำป่าสัก เราพักกินข้าวกันที่นี่ที่ตั้งนั้นอยู่ติดริมแม่น้ำป่าสัก ทำให้ได้บรรยากาศริมแม่น้ำที่ทำให้ความเหนื่อยอ่อนหายไป โดยตัวเรือนสร้างด้วยไม้ทั้งหมด และบริเวณแพที่ข้าพเจ้าลงไปนั่งกินข้าวนั้นเป็นเรือนเครื่องผูกโดยสร้างจากไม้ไผ่ อาคารแต่ละหลังถูกวางให้ลดหลั่นไล่ระดับไปตามทางลาดชัน ทำให้ระนาบที่เกิดขั้นมีความต่อเนื่องได้น่าสนใจ หลังจากอิ่มท้องก็มีการแสดงพื้นบ้านให้ชม ซึ่งเหล่านักแสดงก็คือเด็กที่ได้มาเรียนรู้วัฒนธรรมที่นี้ มีการแสดงหลายชุดแต่ที่ข้าพเจ้าประทับใจก็คงจะเป็นการแสดงชุดที่เลียนแบบนกยูง หลังจากชมการแสดงหมดก็ถ่ายรูปรวมและมอบของที่ระลึกก่อนจะออกเดินทางไปยังสถานที่ต่อไป
วัดพระนอนกำแพงเพชร วัดเก่าแก่ที่สร้างด้วยศิลาแลง และมีหลังที่ทำจากไม้ เนื่องจากอายุที่มากทำให้เหลือเพียงแต่ส่วนที่เป็นศิลาแลงที่มีความคงทนมากกว่าเท่านั้น จากสิ่งที่เหลือนี้ทำให้เราเห็นงานภูมิสถาปัตย์ในสมัยก่อนที่มีความงามผ่านกาลเวลา การไล่ระดับของผืนระนาบขนาดใหญ่ ที่มีความคล้ายคลึงกับสวนอังกฤษ ศิลาแลงบางก้อนก็ใหญ่ซะจนไม่สามารถบอกได้ว่ามันขนมาอย่างไร หญ้า และมอสสีเขียวสดที่ข้ามาแทรกตัวอยู่ตามจุดต่างๆ ของโบราณสถานแห่งนี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกถึงความกลมกลืนของสถาปัตยกรรมที่อยู่คู่กับธรรมชาติ หลังจากนั้นจึงเดินไปชมพระทั้ง 4 อิริยาบถ คือ ปรางค์สมาธิ ปรางค์นอน ปรางค์ยืน และปรางค์ลีลา ทั้ง 4 ปรางค์นี้ข้าพเจ้าให้ความสนใจกับปรางค์ลีลามากที่สุด เนื่องมาจากเส้นที่อ่อนช้อย และท่วงท่าลีลาการก้าวที่ราวกับมีชีวิต แม้ว่าจะเหลืออยู่เพียงแค่บางส่วนแต่ก็ยังสามารทำให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวได้ ก่อนจะมุ่งหน้าสู่ที่พักที่ลำปาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น