เมื่อสมัยที่ข้าพเจ้ายังไม่ได้เลือกที่จะเข้ามาเรียนสายอาชีพสถาปนิกนั้น ในตอนที่ข้าพเจ้ายังอยู่มัธยมปลาย ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียงปีสองปี ก็จำเป็นต้องเข้ามหาวิทยาลัย และเลือกว่าตนจะเรียนไปทางด้านไหน พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ก็เฝ้าถามข้าพเจ้าด้วยความเป็นห่วงอยู่ทุกวัน ในตอนนั้นข้าพเจ้าจึงคิดว่าคงได้เวาเลือกสาขาวิชาที่สนใจเสียที ข้าพเจ้าเริ่มคิดไปต่างๆนานา “วิชาไหนที่เราชอบหรือไม่ชอบนะ” “เราอยากเรียนอะไร” พอคิดไปคิดมาจึงทราบว่าตัวข้าพเจาองนั้น ชอบที่จะวาดรูป และไม่ชอบเรียนเคมี ส่วนวิชาอื่นๆในสายตายข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารู้สึกเฉยๆ ข้าพเจ้าจึงเริ่มมองหาสายวิชาที่ไม่ต้องเรียนเคมี และได้วาดรูป ซึ่งนี่แหล่ะคือทัศนคติที่มีต่ออาชีพสถาปนิกในตอนนั้น
ข้าพเจ้าคิดสวยหรูว่า คงจะได้เข้ามาวาดรูป ได้ออกแบบสิ่งต่างๆ ได้ทำอะไรที่สายวิทย์ไม่ค่อยได้ทำ และที่สำคัญคือไม่ต้องเรียนเคมี ข้าพเจ้าจึงเริ่มต้นหาที่กวดวิชาที่จำเป็นต้องใช่ในการเข้าสอบ ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรม ในตอนที่ข้าพเจ้าเรียนนั้น พี่ติวสอนให้ข้าพเจ้าวาดรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในแบบต่างๆ เช่น วาดภาพทิวทัศน์ ทำโจทย์สเก็ตดีไซน์ ออกแบบโปสเตอร์ ออกแบบสัญลักษณ์ ฯลฯ พอช่วงใกล้สอบก็เริ่มเรียนรู้ภาคทฤษฎี เกี่ยวกับต้นไม้ สี รูปทรงทางเลขาคณิต ข้าพเจ้ารู้สึกว่าสนุกและชอบที่จะได้ทำอะไรแบบนี้มาก ซึ่งข้าพเจ้าไม่ได้ทราบความจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้เลย จนวันประกาศผลสอบข้าพเจ้าตื่นเต้นมาก และข้าพเจ้าทราบผลการสอบ ข้าพเจ้ายิ่งดีใจขึ้นไปอีกเป็นเท่าตัว เหตุผลนั้นเพราะข้าพเจ้าสอบติดสิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนเอาไว้เป็นอันดับหนึ่ง นั่นคือ “ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง”ในตอนนี้นั่นเอง
เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าศึกษายังสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังแล้ว ในตอนแรกนั้นข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจมากที่ได้เข้ามาอยู่ที่นี่ ในปีแรกนั้น วิชาที่เรียนมีความน่าสนใจแล้วสนุกมากไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ วิชชวล ดีไลน์ ดรอวอิ้ง โครงสร้าง ต่างๆที่ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้เรื่องราวต่างๆมากขึ้น แต่มันก็น่าแปลกใจว่ามันไม่เหมือนกับที่ข้าพเจ้าคิดไว้ตอนแรกเลย วิชาต่างๆที่เคยติวแทบจะไม่ได้ใช้ ทุกคนที่เข้ามาที่นี่ได้เหมือนเริ่มต้นใหม่กันหมด ที่เคยคิดว่าตัวเองว่ารูปดี พอเข้ามาก้อกลายเป็นธรรมดามันไม่ได้ใช้อย่างที่เคยคิด พอมาเริ่มปี1เทอม2 ก็เริ่มได้ทำโปรเจ็คแรกของการเรียน นั่นก็คือบ้านเดียวริมคลอง เริ่มรู้และเข้าใจวิชาสถาปนิกมากขึ้นในตอนนั้นข้าพเจ้าเริ่มตระหนักได้ว่า สำหรับวิชาชีพสถาปนิกแล้วสิ่งที่สำคัญคือความรู้สึกของคนที่จะได้เข้าไปสัมผัสกับอาคารของเรา ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างที่รับรู้ทางสายตาได้จากภายนอก หรือความรู้สึกที่ได้รับเมื่อเข้ามาภายใน อีกทั้งยังวิชาโครงสร้างที่ต้องเรียนรู้ไปควบคู่กันเพื่อให้อาคารที่เราออกแบบนั่นเกิดขึ้นจริงได้ วิชา Site planning ที่ทำให้เราเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องต่างที่มากกว่าแค่ความรู้สึกของผู้ที่ข้ามาใช้อาคาร วิชาประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม ที่ใช้เวลาศึกษามากว่า 4 ปี ก็เพื่อให้ได้ข้าพเจ้าสามารถออกแบบอาคารได้หลากหลายประเภท จากโปรเจ็ค ดีไซน์ที่ต้องทำ 2 โครงการต่อ1 เทอม ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้เกี่ยวกับอาคารต่างๆ วิชาโครงสร้างก็ช่วยให้สามารถออกแบบตั้งแต่อาคารพาดช่วงกว้าง 4 เมตร ที่ใช้ก่อสร้างบ้านทั่วไป จนสามารถออกแบบอาคารที่มีช่วงกว้างเสา 20 เมตรขึ้นไปที่ทำให้สร้างอาคารประเภท โรงมโหรศพ หรือ สนามกีฬาได้ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ข้าพเจ้าออกแบบอาคารที่มีความงามทางสถาปัตยกรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกของผู้พบเห็น หรือของผู้ที่เข้ามาใช้ภายใน ความกลมกลืนกันบริบท และสภาพแวดล้อมโดยรอบ แม้กระทั้งด้านความคุ้มค่าความเป็นไปได้ของโครงการ หรือความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ มากมายขนาดนี้ เพราะอาคารเมื่อสร้างมาแล้วมันจะต้องอยู่ตรงนั้นไปอีกหลายสิบปี ถ้าทำออกมาแล้วไม่ใช่แค่ไม่สวย แต่หากกลายเป็นแค่สิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีคนเข้าไปใช้ เสียทั้งทรัพยากร ทั้งแรงงาน และเงินทาง ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจในทุกรายละเอียดของการออกแบบ
และหลังจากเมื่อได้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับวิชา Professional Practice ก็ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจในความเปนสถาปนิกมากขึ้นไปอีก ว่าการที่จะดำรงตนเป็นสถาปนิกนั้นไม่ใช้แค่ออกแบบ และสร้างอาคาร แต่รวมไปถึงต้องรับผิดชอบต่ออาคารนั้นๆ หลังจากสร้างเสร็จแล้วด้วย ดังนั้นแบบต่างๆที่ออกมานั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีสถาปนิกเป็นผู้เซ็นต์คุมแบบ ว่าแบบเหล่านั้นมีความปลอดภัย ได้ออกแบบมาอย่างถูกต้อง ความปลอดภัยนี้ไม่ใช้ความปลอดภัยของโครงสร้างเพราะหน้าที่นั้นเป็นของวิศวกร แต่เป็นความปลอดภัยต่อผู้ที่เข้ามาใช้ในอาคาร ทั้งด้านกฏหมายต่างๆ ทางหนีไฟ และอื่นๆ โดยสถาปนิกผู้ที่จะสามารถรับรองตรงนี้ได้นั้น ก็จำเป็นต้องผ่านการสอบและเป็นสมาชิกกับสภาสถาปนิก เพื่อเป็นหลักประกันว่าไม่ใช้สถาปนิกที่ไม่มีความรู้ แต่ต้องได้รับการรับรองจึงจะสามารถเซนต์ได้ โดยข้อกำหนดต่างๆที่สภากำหนดขึ้นนั้นก็คือประสบการณ์ที่สถาปนิกจะต้องสะสมผ่านการฝึกฝนกับงานจริงนั้นเอง ทำให้ต้องรู้ถึงวิธีการในการดำรงชีพด้วยวิชาเหล่านี้ด้วย เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้ ไม่ใช้เลื่อนขั้นแค่ตามเวลา แต่ต้องใช้ประสบการณ์ที่ระบุไว้ตามที่สภากำหนดด้วยเช่น จะเป็นวุฒิสถาปนิกได้นั้นต้องผ่านการสร้างอาคารแบบไหนมาบ้าง และอาชีพนี้เองก็ต้องมีสามัญสำนึกเหมือนอาชีพอื่นๆเช่นกัน ไม่ว่าจะการหลอกspec ของลูกค้า หรือการรับสินบนของเจ้าของวัสดุก่อสร้างต่างๆ เพราะนั่นไม่ใช้เงินที่เราควรจะได้รับ เพราะเงินที่เราสมควรจะได้รับก็ควรได้มาจากการประกอบอาชีพที่สุจริต เพราะสถาปนิกมีหน้าที่สำคัญคืองานสร้างสถาปัตยกรรมที่ดีให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ไม่ใช่หาเงินจากช่องโหว่ในสายอาชีพ นั่นเอง
อ่านแล้ว........ก็ขอให้ทำตามที่ได้เขียนไว้ในบล็อกนี้นะ......
ตอบลบฮืม!เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งวิชาชีพ จรรยาบรรณต้องมาก่อน เรียนที่เดิยวเหมือนกัน
ตอบลบอืมม
ตอบลบอ่านแล้วเงิบครับ การจะเป็นสถาปนิกที่ดีได้นี้มันบยากจริง ๆ T^T
*0* ขอบคุณมากครับ
ตอบลบ